วิทยาลัยศิลปะ สื่อและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ให้การต้อนรับอาคันตุกะ จาก Sekimoto Lab, University of Tokyo ประเทศญี่ปุ่น และ Mediated Intelligence in Design (MInD) Lab, Deakin University เครือรัฐออสเตรเลีย
อาจารย์ ดร.ดนัยธัญ พงษ์พัชราธรเทพ รองคณบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม พร้อมด้วย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อรวิชย์ ถิ่นนุกูล ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายวิจัยและความร่วมมือ และหัวหน้า Lab วิจัยด้านระบบปฏิบัติการฝังตัวและวิทยาการคำนวณ (Embedded System and Computational Science Lab) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.มณิษวาส จินตพิทักษ์ รองหัวหน้าสำนักวิชาการศิลปะ สื่อ และเทคโนโลยี อาจารย์ ดร.อัจฉรา คำอักษร ผู้ปฏิบัติหน้าที่ช่วยคณบดีด้านการบริหารระบบ ISO30401 และหัวหน้าศูนย์ KIND ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภัทรพร คูวุฒยากร หัวหน้าโครงการวิจัยที่ได้รับทุนจาก PMU-B พร้อมด้วยคณาจารย์และเจ้าหน้าที่ โดยให้การต้อนรับ Prof. Yoshihide Sekimoto จาก Sekimoto Lab ห้องปฏิบัติการวิจัยด้านสารสนเทศเมือง (Urban Informatics) จาก Institute of Industrial Science, University of Tokyo ประเทศญี่ปุ่น และ Assoc. Prof. Beau B Beza จาก Mediated Intelligence in Design (MInD) Lab กลุ่มวิจัยเชิงปฏิบัติการด้านสิ่งแวดล้อมสร้างสรรค์ (Built Environment) เทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรมการออกแบบ จาก Deakin University เครือรัฐออสเตรเลีย
ในการนี้ได้ร่วมหารือสำหรับการสร้างความร่วมมือแบบทวิภาคี สำหรับการพัฒนางานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ในหลายสาขาวิชา อาทิ Internet of Thing, Artificial Intelligence และ Smart City Development ซึ่งที่ผ่านมานักวิจัยของวิทยาลัย ฯลฯ ได้พัฒนาและวิจัยองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้อง ในหลายรูปแบบซึ่งจะสามารถนำไปต่อยอดทำวิจัยต่อไปได้ในอนาคต จากโอกาสและความร่วมมือนี้
นอกจากนี้ คณผู้บริหารและคณาจารย์ได้นำอาคันตุกะเยี่ยมชมห้องปฏิบัติงานด้านวิจัยต่าง ๆ ที่ประกอบด้วย
1. กลุ่มวิจัยด้านเอนิเมชันและเกมส์ (Nap Lab) โดยมี อาจารย์ศุภรา กรุดพันธ์ และ อาจารย์นพพล วงศ์ต๊ะ ให้การต้อนรับและนำเสนอผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
2. ผลงานกลุ่มวิจัยด้าน 3D Printing ซึ่งมี อาจารย์ ดร.เฉลิมพล คงจิตต์ หัวหน้ากลุ่มวิจัย และนางสาวนฤมล กิติ ผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์และการขึ้นรูปวัสดุ 3D ให้การต้อนรับและสาธิตการ ออกแบบและสร้างสรรค์ผลงานจาก Laser Printing
3. แลปวิจัย ด้าน Embedded System Computational Science (ESCS) ให้การต้อนรับและเยี่ยมชมห้องวิจัย โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อรวิชย์ ถิ่นนุกูล หัวหน้า lab วิจัย ที่มีการบูรณาการงานทางด้านวิทยาการคำนวณปัญญาประดิษฐ์ และระบบปฏิบัติการฝังตัวที่มุ่งเน้นใช้งานไปด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ ซึ่งพัฒนางานวิจัยร่วมกับเครือข่ายระดับนานาชาติผลิตผลงานอย่างต่อเนื่อง อาทิ การพัฒนาอัลกอรึทึมสำหรับการวิเคราะห์ การเกิดโรคความจำเสื่อมจากภาพ MRI, การวิเคราะห์โรคในพืช จากการใช้หลักปัญญาประดิษฐ์สำหรับการตรวจวินิจฉัย เป็นต้น
4. ศูนย์ Knowledge and Innovation Development (KIND) โดยมี อาจารย์ ดร.อัจฉรา คำอักษร นำเสนอระบบคุณภาพ ISO30401 และ อาจารย์ ดร.เทพฤทธิ์ สินธำรงรักษ์ นำเสนอผลงานที่เกี่ยวข้องด้าน การออกแบบจำลอง 3D และผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับ IOT
นอกจากนี้ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภัทรพร คูวุฒยากร ในฐานะหัวหน้าโครงการวิจัยร้านค้าอัจฉริยะ O2O ให้การแนะนำ ต้นแบบระบบร้านค้าสะดวกซื้อ โดยการพัฒนาร่วมกับเทคโนโลยี IOT นำมาประยุกต์กับระบบสารสนเทศสมัยใหม่ที่ช่วยให้ร้านสะดวกซื้อสามารถดำเนินการได้โดยลดจำนวนพนักงาน และต้นทุนด้านการบริหารจัดการได้
{gallery}2022100701{/gallery}
การมาเยี่ยมเยือนของ 2 อาคันตุกะในครั้งนี้ที่วิทยาลัยศิลปะสื่อและเทคโนโลยี และการเยี่ยมชมกลุ่มวิจัยต่าง ๆ จึงนับได้ว่าเป็นโอกาสที่สำคัญที่นักวิจัยจะได้มีโอกาสต่อยอดงานวิจัย ได้เปิดประสบการณ์ในการพัฒนางานวิจัยให้มีระดับที่สูงขึ้นได้ ด้วยการอาศัยความร่วมมือจากภายนอกที่มีความเข้มแข็ง มีองค์ความรู้และเทคโนโลยีที่สามารถนำมาสร้างนวัตกรรมที่เข้มแข็งได้ต่อไปในอนาคตได้ ซึ่งที่ผ่านมาผลการดำเนินงานด้านการวิจัยของวิทยาลัยมีผลงานที่โดดเด่นและเป็นที่ยอมรับระดับนานาชาติมีแนวโน้มจำนวนผลงาน ความร่วมมือระดับต่าง ๆ มากขึ้น จึงทำให้นักวิจัยสามารถเชื่อมต่อความร่วมมือจากภายนอกได้เป็นอย่างดี
{gallery}2022100702{/gallery}