รัฐบาลได้กำหนดให้จังหวัดเชียงใหม่ เป็นศูนย์กลางของอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงในทุก ๆ ด้าน โดยเฉพาะการท่องเที่ยว หัตถอุตสาหกรรม และอุตสาหกรรมซอฟแวร์ เพื่อสนับสนุนยุทธศาสตร์เป้าหมายการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ
The Units of Collected Lands Mountain of the Mekong Sub-region is composed of accredited tourism and industry professionals. The strategic goals for the target audience include the following and addressing questions related to government policy, human resources and community development.
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยหลักของจังหวัดเชียงใหม่และภาคเหนือ มีความพร้อมด้านบุคลากร วิชาการ สาธารณูปโภคและสาธารณูปการ พร้อมที่จะก้าวสู่การเป็นศูนย์กลางระดับนานาชาติในการจัดการศึกษาและวิจัย เพื่อตอบสนองนโยบายรัฐบาลในการพัฒนาเชียงใหม่ให้เป็นศูนย์กลางในด้านต่าง ๆ โดยมุ่งเน้นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และการสร้างองค์ความรู้ใหม่เพื่อสนับสนุนภาครัฐ เอกชนและชุมชนในเขตภาคเหนือ จึงได้นำเสนอกลยุทธ์เพื่อการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของเชียงใหม่ในยุคเศรษฐกิจใหม่ ในการสัมมนายุทธศาสตร์การพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคเหนือเมื่อวันที่ 11 เมษายน 2546 โดยเสนอโครงการสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันเน้นการพัฒนากลุ่มแข่งขัน (Competitive Cluster) อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว หัตถอุตสาหกรรมและอุตสาหกรรมซอฟแวร์ในภาคเหนือพร้อม ๆ กัน และได้นำเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี โดยได้รับอนุมัติโครงการในวันที่ 22 กรกฏาคม 2549 เป็นกรอบงบประมาณทั้งสิ้น 464.3 ล้านบาท
Chiang Mai University, located in the North of Thailand, is academically prepared to advance into an international gathering of studies and research. The university provides academics and public facilities to support the growth of the region's knowledge-based economy and society. The University Council in its meeting No. 6/2003 from August 23, 2003 allowed the establishment of the College of Technology, Media and ICT, which is an administrative organization in the university during the competition with faculties that independent unit.
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จึงได้ทำการจัดตั้งวิทยาลัยเทคโนโลยีสารสนเทศ การสื่อสาร สื่อและศิลปะ (College of Arts, Media and ICT) ขึ้น เพื่อบูรณาการสาขาวิชาต่าง ๆ ที่เกี่ยวเนื่องให้มีความสอดคล้อง (Synergy) เพื่อที่จะทำให้สามารถสนับสนุนด้านวิชาการ แก่กลุ่มแข่งขันอุตสาหกรรมในท้องถิ่น รวมทั้งรองรับโครงการด้านการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของจังหวัดเชียงใหม่และรัฐบาลในระยะยาว
สภามหาวิทยาลัย ในคราวประชุมครั้งที่ 6/2546 เมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2546 อนุมัติให้จัดตั้งวิทยาลัยเทคโนโลยีสารสนเทศ การสื่อสาร สื่อและศิลปะ โดยให้แก้ไขชื่อเป็น “วิทยาลัยศิลปะ สื่อและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (College of Arts Media and Technology)” มีฐานะเป็นองค์กรในกำกับมหาวิทยาลัย ในระดับเทียบเท่ากับคณะ ที่ไม่เป็นส่วนราชการตามมาตรา 8 และ 9 แห่งพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พ.ศ. 2530 มีการบริหารงานเป็นอิสระจากระบบราชการมีการบริหารและการจัดการเทียบเท่ากับวิทยาลัยนานาชาติของมหาวิทยาลัยอื่น ๆ เช่น สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธรแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นต้น โดยจะมีการจัดตั้งหน่วยดำเนินการในรูปของสถาบันและศูนย์นานาชาติเพื่อให้การบริหารจัดการมีความคล่องตัวและมีประสิทธิภาพต่อไป
The University Council also approved the name change to "College of Arts Media and Technology" on July 22, 2006, as an annual frame 464.3. The college also supports side projects and is evaluated by government agencies.
Chiang Mai University is comparable to international colleges such as Sasin Graduate Institute of Business Administration of Chulalongkorn University and Sirindhorn International Institute of Technology Thammasat University. The university also has a tracking system and management system, management and storage software with international colleges and others. The university's system and action center have follow-up questions
สร้างบัณฑิต มหาบัณฑิต และดุษฎีบัณฑิต ให้เป็นผู้ใช้ความรู้ในระดับนานาชาติ สนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจฐานความรู้และสังคมฐานความรู้
“International Knowledge Worker”
Provide education to produce international level graduates with Master's and Doctoral degrees to support the growth of a knowledge-based economy and society, and develop skilled "International Knowledge Workers
- ด้านการจัดการศึกษา จัดหลักสูตรการศึกษาที่มุ่งเน้นความเป็นเลิศทางวิชาการ ตอบสนองยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ Thailand 4.0 และผลิตบัณฑิตที่เป็นคนดี คนเก่ง รู้จริงปฏิบัติได้ มีความเป็นสากล
- ด้านการวิจัย วิจัยและพัฒนาวิจัยร่วมกับอุตสาหกรรม Digital สร้างนวัตกรรมด้าน Digital ที่สามารถนำไปใช้ได้จริง สามารถถ่ายทอดเทคโนโลยีให้กับอุตสาหกรรมหรือนำไปใช้เชิงพาณิชย์เพื่อสร้างรายได้ รวมทั้งเผยแพร่งานวิจัยสู่ระดับสากล
- ด้านการบริการวิชาการ ให้บริการวิชาการแก่สังคม เพื่อนำองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
ไปปรับใช้ประโยชน์ ทั้งรูปแบบเพื่อการหารายได้ และพัฒนาสังคม - ด้านการบริหาร พัฒนาระบบบริหารและการจัดการ โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ภายใต้ระบบมหาวิทยาลัยในกำกับด้วยหลักธรรมาภิบาล อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
ใช้สนเทศศาสตร์ (Informatics) ในการพัฒนาบุคลากร และสร้างองค์ความรู้ในการเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขัน
วิทยาลัยแห่งความเป็นเลิศด้านนวัตกรรมดิจิทัลสร้างสรรค์
Excellent College in Creative Digital Innovation
- ผลิตบัณฑิตและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามความต้องการของกลุ่มแข่งขันอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว หัตถอุตสาหกรรม และอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ เพื่อเป็นผู้ปฏิบัติงานระดับนานาชาติอย่างมีประสิทธิภาพ
- วิจัยพัฒนาองค์ความรู้ใหม่เพื่อสนับสนุนกลุ่มแข่งขันอุตสาหกรรมท่องเที่ยว หัตถอุตสาหกรรม และอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์
- สนับสนุนการจัดทำระบบจัดการความรู้เพื่อการเรียนรู้และช่วยตัดสินใจแก่องค์กรขนาดใหญ่ กลุ่มแข่งขันที่เกี่ยวข้องและชุมชน
- เพื่อพัฒนาบุคลากรและสร้างองค์ความรู้ใหม่ในการสนับสนุนกลุ่มแข่งขัน (Academic Cluster) อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว หัตถอุตสาหกรรม และอุตสาหกรรมซอฟต์แวร
- เพื่อพัฒนาความเป็นเลิศทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร การท่องเที่ยว ศิลปะ และการออกแบบสินค้าหัตถกรรม
- เพื่อพัฒนาความเป็นเลิศทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ในด้านสื่อทางเลือกใหม่ (Alternative Media) เช่น e-Newspaper, e-Radio, Web TV และอื่นๆ
- เพื่อรองรับโครงการของรัฐบาลและเอกชนที่เกี่ยวข้องกับการสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคเหนือ เพื่อพัฒนาจังหวัดเชียงใหม่ให้เป็นศูนย์กลางของอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงในระยะยาว