ขอแสดงความยินดีกับคณาจารย์และนักวิจัย CAMT 

ที่ได้รับรางวัลงานวิจัยแห่งชาติระดับดี ประจำปี 2568

IMG 7235

             ​วิทยาลัยศิลปะ สื่อ และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ขอแสดงความยินกับ รองศาสตราจารย์ ดร.รัฐพล  วุฒิการณ์ ประธานหลักสูตรการจัดการความรู้และนวัตกรรม ระดับปริญญาเอก พร้อมด้วยรองศาสตราจารย์ ดร.ภาสิทธิ์  เจริญขวัญประธานหลักสูตรการจัดการสมัยใหม่และเทคโนโลยีสารสนเทศ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภูดินันท์  สิงห์คำฟู อาจารย์ประจำสาขาวิศวกรรมซอฟต์แวร์ (หลักสูตรนานาชาติ) และทีมนักวิจัย ที่ได้รับรางวัลงานวิจัยแห่งชาติระดับดี ประจำปี 2568 ของสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ในผลงาน “การพัฒนาระบบต้นแบบสำหรับการตรวจนับสินค้าคงคลังโดยการบูรณาการอากาศยานไร้คนขับ เทคโนโลยีบาร์โค้ด การเรียนรู้เชิงลึก และเทคโนโลยีการประมวลผลภาพ” ซึ่งเป็น 1 ใน 5 ผลงานจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ที่ได้รับรางวัลผลงานวิจัยประจำปี 2568 และเป็น 1 ใน 53 รางวัลของผลงานวิจัยที่ได้รับรางวัลจากทั่วประเทศประจำปี 2568 จากผลงานที่ยื่นขอจำนวนทั้งสิ้น 235 ผลงาน

​           ผลงานวิจัยนี้มุ่งเน้นการพัฒนาและปรับปรุงกระบวนการตรวจนับสินค้าคงคลังแบบดั้งเดิมให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นทั้งทางด้านระยะเวลาและต้นทุน นอกจากนี้ยังส่งผลต่อความปลอดภัยในการปฏิบัติงานในคลังสินค้าที่ดีขึ้น โดยระบบและวิธีการนี้เป็นแนวคิดเชิงบูรณาการแบบใหม่ที่ไม่เคยถูกดำเนินการมาก่อนในอดีตทั้งในเชิงวิชาการและเชิงปฏิบัติ ซึ่งประกอบไปด้วย (1) อากาศยานไร้คนขับ ที่สามารถปฏิบัติงานได้ในที่ ๆ มีความสูง และในพื้นที่ ๆ มีบริเวณจำกัด รวมไปถึงการบินได้อย่างแม่นยำทั้งในแนวดิ่งและแนวราบ (2) วิธีการเรียนรู้เชิงลึก ที่สามารถช่วยค้นหาสินค้าคงคลังและบาร์โค้ดได้อย่างถูกต้องและแม่นยำโดยอัตโนมัติ และ (3) เทคโนโลยีบาร์โค้ด ที่สามารถบรรจุข้อมูลเบื้องต้นของสินค้าคงคลัง ซึ่งสามารถนำไปสู่การเชื่อมโยงหรืออ้างอิงข้อมูลและสารสนเทศเชิงลึกของสินค้าคงคลังได้ ด้วยการผสมผสานความสามารถเฉพาะตัวของเครื่องมือและวิธีการเหล่านี้ สามารถทำให้ประสิทธิผลการตรวจนับสินค้าคงคลังของระบบที่ถูกพัฒนานั้นมีความใกล้เคียงหรือเทียบเท่ากับวิธีการทำงานแบบดั้งเดิมในเรื่องของความถูกต้องและความแม่นยำ ยิ่งไปกว่านั้นระบบต้นแบบที่ถูกนำเสนอนี้มีประโยชน์และประสิทธิภาพในการทำงานที่เหนือกว่าวิธีการทำงานแบบดั้งเดิมในหลายมิติ คือ ความปลอดภัย ระยะเวลา และต้นทุนในการทำงาน โดยสามารถเพิ่มความสามารถทางการแข่งขันทางด้านโลจิสติกส์ขององค์กรและประเทศไทยให้สูงขึ้น เนื่องจากคะแนน Logistics performance index (LPI) ที่เพิ่มสูงขึ้นมาจากการพัฒนาประสิทธิผลและประสิทธิภาพในหมวดการติดตามและตรวจสอบ(Tracking and tracing) และหมวดการตรงต่อเวลา (Timeliness)

Congratulations to the Lecturer and researchers of CAMT for receiving the National Research Award of the Year 2025

IMG 7237


            ​On behalf of the College of Arts, Media and Technology (CAMT) Chiang Mai University we would like to extend our heartfelt congratulations to the entire team led by Associate Professor Dr. Ratapol Wudhikarn, Ph.D., Head of the Knowledge and Innovation Management (KIM), along with Associate Professor Dr. PhasitCharoenkwan, Ph.D., Head of the Modern Management and Information Technology (MMIT), Assistant Professor Dr. PhudinunSingkhamfu, Lecturer in Software Engineering (International Program), and their research team, Their collective efforts have been recognized with the 2025 Excellent National Research Award from the National Research Council of Thailand for their research title " Developing a prototype system for inventory counting process by integrating unmanned aerial vehicle (UAV), barcode technology, deep learning, and image processing technology". This project was selected from the 235 submissions, making it 1 of 5 research projects under Chiang Mai University and 1 of 53 research projects awarded.

​            This research aims to develop and improve the traditional inventory counting process to enhance efficiency in terms of both time and cost. Furthermore, it contributes to better safety practices in warehouse operations. The proposed system and methodology represent a novel, integrated approach that has not been implemented before, both academically and practically. The system includes (1) Unmanned Aerial Vehicles (UAVs) that can operate at height and in confined spaces, with precise control both vertically and horizontally. (2) Deep Learning methods that automatically and accurately identify inventory and barcodes. (3) Barcode technology that stores basic inventory data, which can be linked to or referenced for more detailed information.

     ​By integrating the unique capabilities of these tools and methods, the effectiveness of the developed inventory counting system is close to, or on par with, traditional methods in terms of accuracy and precision. Moreover, the prototype system presented offers superior performance in several aspects compared to traditional methods, including safety, time efficiency, and cost-effectiveness. This improvement enhances the logistics competitiveness of organizations and of Thailand, contributing to a higher Logistics Performance Index (LPI), especially in the areas of tracking and tracing as well as timeliness.