CAMT เปิดตัวแพลตฟอร์มล้านนาสร้างสรรค์ให้เป็น Soft Power สู่สากล

ร่วมกับคณะกรรมการโครงการสมาชิกวุฒิสภาพบประชาชนในพื้นที่จังหวัดภาคเหนือ (ตอนบน)

DSC03905

          ศาสตราจารย์ปฏิบัติ ดร.เอกชัย มหาเอก รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และ วิทยาลัยศิลปะ สื่อ และเทคโนโลยี นำโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วรวิชญ์ จันทร์ฉาย คณบดี พร้อมด้วยอาจารย์ ดร.ดนัยธัญ พงษ์พัชราธรเทพ รองคณบดี และหัวหน้าโครงการแพลตฟอร์มล้านนาสร้างสรรค์ (Creative Lanna Platform)  พร้อมด้วยผู้บริหารและคณาจารย์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และคณะกรรมการโครงการสมาชิกวุฒิสภาพบประชาชนในพื้นที่จังหวัดภาคเหนือ (ตอนบน) นำโดย พลเอก สกนธ์ สัจจานิตย์ รองประธานคณะกรรมการโครงการ นายสถิตย์ ลิ่มพงศ์พันธุ์ นายมณเฑียร บุญตัน นายเสรี สุวรรณภานนท์ และคุณหญิงพรทิพย์ โรจนสุนันท์ พร้อมด้วย ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุภาวดี โพธิยะราช ผู้เชี่ยวชาญอาวุโส สกสว. และประธานอนุกรรมการแผนงานกลุ่มการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ บพข. ในฐานะผู้แทน ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) และผู้อำนวยการหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) พร้อมด้วยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องใน 8 จังหวัดภาคเหนือตอนบน ร่วมประชุมความคืบหน้าการจัดทำแพลตฟอร์มล้านนาสร้างสรรค์ (Creative Lanna Platform)  การขยายผลต่อยอดการนำร่องที่จังหวัดเชียงใหม่ให้ครอบคลุมไปยัง 8 จังหวัดภาคเหนือตอนบน พร้อมชูให้เป็น Soft Power สู่สากล

            DSC03882        DSC04146

          ซึ่งแผนงานวิจัยดังกล่าวเกิดจากความร่วมมือของวิทยาลัยฯ ร่วมกับคณะกรรมการโครงการฯ ได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (สกสว.) หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) ได้ทำการออกแบบแพลตฟอร์ม ภายใต้ชื่อ “แพลตฟอร์มล้านนาสร้างสรรค์” หรือ Creative Lanna Platform เพื่อที่จะนำเทคโนโลยีต่างๆ ไปช่วยเหลือชุมชน ทั้งการนำเสนอเส้นทางท่องเที่ยวที่บริหารจัดการด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ การนำเสนอข้อมูลพื้นฐาน การสร้างเส้นทางท่องเที่ยวใหม่ๆ ผ่านการรวบรวมข้อมูลจากปราชญ์ชุมชนหรือนักสร้างสรรค์ชุมชน ขณะเดียวกันแพลตฟอร์มดังกล่าวยังจะช่วยนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่ขึ้นชื่อของชุมชน ทำให้ชุมชนสามารถจำหน่ายผลิตภัณฑ์ได้ง่ายขึ้น ซึ่งจะเป็นการต่อยอดภูมิปัญญาของชาวบ้าน และยังช่วยส่งเสริมผลักดันให้จังหวัดเชียงใหม่ รวมถึงจังหวัดต่างๆ ในเขตพื้นที่ภาคเหนือตอนบน กลายเป็นศูนย์กลางของศิลปวัฒนธรรมล้านนาร่วมสมัยของประเทศไทย ซึ่งหลังจากการจัดทำและพัฒนาแพลตฟอร์มล้านนาสร้างสรรค์ได้ระยะหนึ่งแล้วขณะนี้มีความครบสมบูรณ์และพร้อมที่จะให้บริการแก่ประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของวิทยาลัยฯ ในหัวข้อ SO2: Creative Digital Innovation สร้างนวัตกรรมเพื่อสังคม แบบบูรณาการศาสตร์ ณ ห้องพระยาศรีวิสารวาจา อาคารสำนักงานอธิการบดี ชั้น 1 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 22 กุมภาพันธ์ 2567